คุณครูทักษิณา นากา // คุณครูวลัยลักษณ์ ฟ้อนบำเรอ

..คุณครูทักษิณา นากา // คุณครูวลัยลักษณ์ ฟ้อนบำเรอ....

ศิลป์หรรษา

ศ.ศิลป์ พีระศรี กล่าวว่า ชีวิตสั้น ศิลปะยืนยาว (Ars Longa Vita Bravis) ดูเหมือนว่าคำกล่าวนี้จะมิใช่คำกล่าวที่เลื่อนลอยไร้เหตุผล เหตุเพราะ ศิลปิน หลายๆ ท่าน ล้มหายตายจาก โลกนี้ไปนานแล้ว แต่ทว่าผลงานของศิลปินเหล่านั้น กลับมิได้ ล้มหายตายจากตามเจ้าของผลงานไปด้วยเลย ความงดงามแห่งศิลปะนั้น ช่างเป็นสิ่งที่น่าอภิรมย์อยู่นิจนิรันดร์กระนั้นหรือ?

เบื้องหลังผลงานอัดงามงด ชีวิตของ ศิลปิน ผู้ผลิตผลงานทางศิลปะอันงดงามนั้นเล่า จักงดงาม ดังเช่น งานศิลป์ ที่เขาได้ทุ่มเทชีวิตผลิตและเสกสร้างขึ้นไว้ด้วยหรือไม่? คำถามนี้ชวนให้หาคำตอบยิ่งนัก

ชีวประวัติของ  Vincent van Gogh  และ Pablo Picasso สองศิลปินเอก ผู้มีชื่อเสียง กระเดื่องโลก คงจะทำให้ท่านผู้อ่าน มองเห็นอะไรบางอย่าง

 


Vincent van Gogh (1)

ชีวประวัติ วินเซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent Van gogh)  ค.ศ.1888 ป่วยเป็นโรคจิตและทะเลาะกับ พอล โกแกง (Paul Gauguin) จนถึงกับตัดหูข้างซ้ายของตน ต่อมาได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในเมืองอาร์เลส แชร์ทเรอมีและอูฟร์ (2)

"เมืองอาร์ลส์ นี้สะท้อนชีวิตของชาวโรมันในยุคโบราณได้ดีที่สุด เพราะมีทั้งโรงละครกลางแจ้ง สนามประลอง และสุสานเลอาลิสกอง (Les Alyscamps) ให้ชม ถนนเลลิซ (Les Lices) นั้นร่มรื่นไปด้วยต้นไม้และร้านกาแฟกลางแจ้งดูน่าสบาย จนอดสงสัยไม่ได้ว่า แวนโกะห์มีปัญหาอะไรนักหนาจึงเศร้านักเมื่อพักอยู่ที่เมืองนี้" (3)

"จิตรกรบ้า ก็คือชื่อที่ใครๆใช้เรียกเขา วินเซนท์ แวนโกก์ แวนโกก์มีความพยายามในการฝึกฝนตนเอง โดยมีน้องชายเป็นผู้ช่วยเหลือเรื่องเงินมาโดยตลอด คนอื่นเริ่มมองว่าเขาบ้า เพราะว่าเขาเขียนรูปจนลืมดูแลตนเอง ในที่สุดเขาก็ได้มาเขียนรูปที่ปารีสและเกิดกลุ่มจิตรกรอิมเพรสชันนิสม์Impressionism) ขึ้นมา ผลงานโดยมากของเขาไม่สามารถขายได้ แต่เขาก็พยายามถึงที่สุด และเขาก็ต้องเข้ารับการรักษาโรคจิตในโรงพยาบาลเพราะเขาตัดหูซ้ายตนเองเพราะทะเลาะกับปอล โกแกง เพื่อนของเขา อีก 2 ปีต่อมาเขาได้ยิงตัวเองในทุ่งข้าว ในปี 1890 หลังจากเขาตายผลงานของเขาก็โด่งดังไปทั่วโลก เช่น รูปดอกทานตะวัน จนมีคนกล่าวว่า ความบ้ากับอัจฉริยะห่างกันแค่เส้นยาแดงผ่าแปด" (4)